ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

พรรคเสรีประชาธิปไตย (ญี่ปุ่น)

พรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น พรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic Party; ญี่ปุ่น: ????? Jiy?-Minshut? ?) มักนิยมย่อว่า พรรคแอลดีพี (LDP) หรือ พรรคจิมินโต (ญี่ปุ่น: ??? Jimint? ?) เป็นพรรคการเมืองหลักฝ่ายอนุรักษนิยมของญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในพรรคที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดพรรคหนึ่งของโลก โดยพรรคเสรีประชาธิปไตยครองเสียงข้างมากในรัฐสภาญี่ปุ่นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่พ.ศ. 2498 ยกเว้นช่วงเวลาสั้นๆตั้งแต่พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2537 และจาก พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2555 พรรคเสรีประชาธิปไตยกลับมาครองเสียงข้างมากในรัฐสภาจากการเลือกตั้งทั่วไปของญี่ปุ่นปีพ.ศ. 2555 ในปัจจุบันพรรคเสรีประชาธิปไตยของญี่ปุ่นครองเสียงข้างมากทั้งในวุฒิสภา (115 เสียง) และในสภาผู้แทนราษฎร (295 เสียง)

พรรคเสรีประชาธิปไตยของญี่ปุ่นถือกำเนิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2498 จากการรวมตัวของสองพรรคได้แก่ พรรคเสรีนิยม (Liberal Party; ญี่ปุ่น: ??? Jiyut? ?) ซึ่งนำโดยนายโยะชิดะ ชิเงะรุ (ญี่ปุ่น: ??? Yoshida Shigeru ?) และพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Japan Democratic Party; ญี่ปุ่น: ????? Nihon Minshut? ?) ของนายฮะโตะยะมะ อิชิโร่ (ญี่ปุ่น: ???? Hatoyama Ichir? ?) ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อันเป็นการรวมตัวกันของพรรคอนุรักษนิยมฝ่ายขวาขนาดใหญ่ทั้งสองพรรค เพื่อเป็นการต่อต้านพรรคฝ่ายซ้ายอื่นๆในญี่ปุ่นขณะนั้นเช่น พรรคสังคมนิยมญี่ปุ่น (Japan Socialist Party; ญี่ปุ่น: ????? Nihon Shakait? ?) หรือ พรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น (Japan Communist Party; ญี่ปุ่น: ????? Nihon Ky?sant? ?) ในสมัยต่อมาหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ของสหรัฐอเมริกาได้เปิดเผยว่า ในช่วงสงครามเย็น สำนักข่าวกรองกลางหรือ CIA ของสหรัฐอเมริกาได้ใช้เงินจำนวนหลายล้านดอลลาร์ทำให้พรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยชนะการเลือกตั้ง เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ลัทธิคอมมิวนิสต์รุ่งเรืองขึ้นในญี่ปุ่น

ตลอดช่วงเวลาเกือบหกสิบปีในการบริหารประเทศของพรรคเสรีประชาธิปไตย พรรคเสรีประชาธิปไตยได้นำพาญี่ปุ่นผ่านความรุ่งเรืองและวิกฤตการต่างๆ ในช่วงสงครามเย็นเศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็ว เรียกว่า ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจ (Economic Miracle) โดยมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างฝ่ายนักการเมืองในรัฐบาลและฝ่ายบริษัทขนาดใหญ่ ความสอดคล้องระหว่างนโยบายของรัฐกับความต้องการของเอกชน และการแทรกแซงของรัฐเป็นปัจจัยที่สำคัญ นอกจากนี้พรรคเสรีประชาธิปไตยนโยบายส่งเสริมช่วยเหลือสวัสดิการแก่คนยากจน ทำให้พรรคเสรีประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนจากทุกส่วนของสังคมญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่นเผชิญปัญหาหยุดนิ่งและตกต่ำในช่วงทศวรรษที่ 1990 อันเนื่องมาจากการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐอเมริกา และการแข็งตัวของค่าเงินเย็นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ ทำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ช่วงเวลา "สิบปีแห่งความสูญเปล่า" (Lost Decade) ความนิยมในพรรคเสรีประชาธิปไตยลดลงอย่างมาก ทำให้พรรคญี่ปุ่นใหม่ (Japan New Party; ญี่ปุ่น: ???? Nihon Shint? ?) ซึ่งแยกตัวออกมาจากพรรคเสรีประชาธิปไตยสามารถเอาชนะพรรคเสรีประชาธิปไตยในการเลือกตั้งปีพ.ศ. 2536 ได้ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์หลังสงครามโลกครั้งที่สองที่พรรคเสรีประชาธิปไตยสูญเสียเสียงข้างมากในรัฐสภาให้แก่พรรคอื่นและกลายเป็นพรรคฝ่ายค้าน อย่างไรก็ตามเหตุการณ์เป็นอยู่ในช่วงเวลาเพียงแค่ 11 เดือนเท่านั้น การเลือกตั้งในปีพ.ศ. 2537 พรรคเสรีประชาธิปไตยสามารถกอบกู้เสียงข้างมากกลับมาเป็นรัฐบาลได้อีกครั้ง

สมัยของนายกรัฐมนตรีจุงอิชิโร โคะอิซุมิ (ญี่ปุ่น: ?? ??? Koizumi Jun'ichir? ?) ตั้งแต่พ.ศ. 2544 ถึงพ.ศ. 2549 สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้แก่ญี่ปุ่นและพรรคเสรีประชาธิปไตย โดยเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจของพรรคจากที่เน้นการแทรกแซงของรัฐบาลมาเป็นการเน้นการค้าเสรีและกลไกตลาด อันเป็นผลทำให้ญี่ปุ่นสามารถฟื้นตัวจากความตกต่ำทางเศรษฐกิจได้ และนายกรัฐมนตรีโคะอิซุมิยังมีนโยบายชาตินิยมโดยมีความพยายามที่จะฟื้นฟูอำนาจทางการทหารของญี่ปุ่นขึ้นมาใหม่ และการเดินทางไปยังศาลเจ้ายะซุกุนิซึ่งได้รับการประท้วงจากประเทศต่างๆในเอเชีย อย่างไรก็ตามด้วยนโยบายทางเศรษฐกิจของนายโคะอิซุมิทำให้พรรคเสรีประชาธิปไตยได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางอีกครั้ง

พรรคเสรีประชาธิปไตยของญี่ปุ่นมิได้มีหลักปรัชญาทางการเมืองหรืออุดมการณ์ที่ชัดเจน อันเนื่องมากจากระยะเวลาอันยาวนานในการบริหารประเทศทำให้พรรคเสรีประชาธิปไตยมีความหลากหลายทางด้านนโยบาย อย่างไรก็ตามตลอดระยะเวลาเกือบหกสิบปีที่ผ่านมาทำให้อาจสรุปได้ว่า นับตั้งแต่สมัยของนายกรัฐมนตรีจุงอิชิโร โคะอิซุมิเป็นต้นมา พรรคเสรีประชาธิปไตยมีนโยบายเน้นการค้าเสรีเป็นหลัก ส่งเสริมกลไลตลาดโดยมีการแทรกแซงของรัฐบาลให้น้อยที่สุด และมีนโยบายสานสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐอเมริกา รวมทั้งพึ่งพิงสหรัฐอเมริกาในด้านการทหารและการต่างประเทศ และมีนโยบายชาตินิยม โดยเยือนศาลเจ้ายะซุกุนิของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสร้างความไม่พอใจแก่ประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออก

หลังจากที่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนครบสองวาระในพ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรีจุงอิชิโร โคะอิซุมิ ตัดสินใจที่จะยุติบทบาททางการเมืองและส่งนายชินโซ อะเบะ (ญี่ปุ่น: ???? Abe Shinz? ?) เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งเดือนกันยายนปีพ.ศ. 2549 นายชินโซ อะเบะ ได้รับการเลือกตั้งด้วยความนิยมในพรรคเสรีประชาธิปไตยอันเนื่องมาจากความสำเร็จของอดีตนายกรัฐมนตรีโคะอิซุมิ แต่ทว่าหลังจากที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เพียงหนึ่งปี นายชินโซ อะเบะ ก็ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรค อันเนื่องมาจากประเด็นการคอรัปชั่นที่นำไปสู่การอัตวินิบาตกรรมของรัฐมนตรีกระทรวงเกษตร และการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกปีพ.ศ. 2550 พรรคเสรีประชาธิปไตยสูญเสียเสียงข้างมากในวุฒิสภาให้แก่พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Japan Democratic Party)

ในเดือนกันยายนพ.ศ. 2550 นายยะซุโอะ ฟุกุดะ (ญี่ปุ่น: ???? Fukuda Yasuo ?) เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนนายอะเบะ แต่นายกรัฐมนตรีฟุกุดะต้องประสบกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีพรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นเสียงส่วนใหญ่ และวุฒิสภาซึ่งมีพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นเป็นเสียงส่วนใหญ่ อีกหนึ่งปีต่อมาเดือนกันยายนพ.ศ. 2551 นายฟุกุดะจึงลาออกจากตำแหน่งไปอีกคนหนึ่ง นายทะโร อะโซ (ญี่ปุ่น: ???? As? Tar? ?) เข้าดำรงตำแหน่งแทน ก็ประสบกับปัญหาเดียวกัน จนกระทั่งนายกรัฐมนตรีอะโซตัดสินใจยุบสภาในเดือนกันยายนพ.ศ. 2552

การเลือกตั้งทั่วไปพ.ศ. 2552 ปรากฏว่าพรรคประชาธิปไตยที่เป็นพรรคคู่แข่งได้รับเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ทำให้เป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ที่พรรคเสรีประชาธิปไตยต้องกลายเป็นพรรคฝ่ายค้าน หลังจากที่สูญเสียอำนาจให้แก่พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นเป็นเวลาสามปี การเลือกตั้งทั่วไปพ.ศ. 2555 พรรคเสรีประชาธิปไตยกลับมาได้รับความนิยมคะแนนเสียงข้างมากอีกครั้ง โดยมีนายชินโซ อะเบะ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งที่สอง


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301